กลับหน้าหลัก กลับหน้ากิจกรรม ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด

การปฐมพยาบาล
   
การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ ณ สถานที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่จะหาได้ในขณะนั้น ก่อนที่ผู้บาดเจ็บจะได้รับการดูแล รักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือส่งต่อไปยังโรงพยาบาล

วัตถุประสงค์ของการปฐมพยาบาล     

1. เพื่อช่วยชีวิต
2. เพื่อเป็นการลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย
3. เพื่อทำให้บรรเทาความเจ็บปวดทรมาน และช่วยให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว
4. เพื่อป้องกันความพิการที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลัง ขอบเขตและหน้าที่ของผู้ปฐมพยาบาล     
ผู้ปฐมพยาบาลมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น จะหมดหน้าที่เมื่อผู้บาดเจ็บปลอดภัยหรือได้รับการรักษาจากแพทย์หรือสถานพยาบาลแล้ว ขอบเขตหน้าที่ของผู้ปฐมพยาบาลมี 2 ประการใหญ่ ๆ คือ
1. วิเคราะห์สาเหตุและความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือได้ถูกต้อง มีขั้นตอนดังนี้
1.1 ซักประวัติของอุบัติเหตุ จากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์หรือผู้บาดเจ็บที่รู้สึกตัวดี
1.2 ซักถามอาการผิดปกติหลังได้รับอุบัติเหตุ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดมากที่บริเวณใด ฯลฯ
1.3 ตรวจร่างกายผู้บาดเจ็บทุกครั้งก่อนให้การปฐมพยาบาล โดยตรวจตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า เพื่อค้นหาสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม บาดแผล กระดูกหัก เป็นต้น
2. ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ โดยช่วยเป็นลำดับขั้นดังนี้
2.1 ถ้าผู้บาดเจ็บอยู่ในบริเวณที่มีอันตรายต้องเคลื่อนย้ายออกมาก่อน เช่น ตึกพังถล่มลงมา ไฟไหม้ในโรงภาพยนต์ เป็นต้น
2.2 ช่วยชีวิต โดยจะตรวจดูลักษณะการหายใจว่ามีการอุดตันของทางเดินหายใจหรือไม่ หัวใจหยุดเต้นหรือไม่ ถ้ามีก็ให้รีบช่วยกู้ชีวิตซึ่งจะกล่าวในตอนต่อไป
2.3 ช่วยมิให้เกิดอันตรายมากขึ้น ถ้ามีกระดูกหักต้องเข้าเฝือกก่อน เพื่อมิให้มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อมากขึ้น ถ้ามีบาดแผลต้องคลุมด้วยผ้าสะอาด เพื่อมิให้ฝุ่นละอองเข้าไปทำให้ติดเชื้อ ในรายที่สงสัยว่ามีการหักของกระดูกสันหลัง ต้องให้อยู่นิ่งที่สุด และถ้าจะต้องเคลื่อนย้ายจะต้องให้แนวกระดูกสันหลังตรง โดยนอนราบบนพื้นไม้แข็ง มีหมอนหรือผ้าประคองศีรษะมิให้เคลื่อนไหว ให้คำปลอบโยนผู้บาดเจ็บ ให้กำลังใจ อยู่กับผู้บาดเจ็บตลอดเวลา พลิกตัว หรือ จับต้องด้วยความอ่อนโยนและระมัดระวัง ไม่ละทิ้งผู้บาดเจ็บอาจต้องหาผู้อื่นมาอยู่ด้วยถ้าจำเป็น หลักทั่วไปในการปฐมพยาบาล     
1. เมื่อพบผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ ต้องรีบช่วยเหลือทันที ยกเว้นในกรณีที่มีอุปสรรคต่อการช่วยเหลือ เช่น มีแก็สพิษ มีวัสดุกีดขวาง เป็นต้น ให้ย้ายผู้ป่วยออกมาในที่ปลอดภัยเสียก่อนจึงดำเนินการช่วยเหลือ
2. ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในกรณีที่จะมีอันตรายต่อชีวิตโดยรีบด่วนก่อน
3. อย่าให้มีคนมุง ทั้งนี้เพื่อให้มีอากาศปลอดโปร่ง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีบริเวณกว้างขวางเพียงพอ อีกทั้งสะดวกในการให้การปฐมพยาบาลด้วย
4. จัดให้ผู้บาดเจ็บอยู่ในท่าที่เหมาะสมในการปฐมพยาบาล และไม่เพิ่มอันตรายแก่ผู้บาดเจ็บด้วย ควรจัดให้อยู่ในท่านอนหงายและทางเดินหายใจโล่ง พร้อมทั้งสังเกตอาการต่างๆ ของผู้บาดเจ็บ และวางแผนการให้การช่วยเหลืออย่างมีสติ ไม่ตื่นเต้นตกใจ สังเกตสิ่งแวดล้อมว่ามีสิ่งของอันตรายอยู่ใกล้เคียงหรือไม่ ลักษณะของผู้บาดเจ็บนั้นบ่งบอกว่าเป็นการฆ่าตัวตาย (suicide) หรือ ถูกทำร้าย (homocide) หรือ เป็นอุบัติเหตุที่แท้จริง
5. บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ อาการ ลักษณะของผู้บาดเจ็บเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลที่ได้ทำลงไป พร้อมทั้งนำติดตัวไปกับผู้บาดเจ็บเสมอเพื่อประโยชน์ในการรักษาต่อไป
6. อย่าทำการรักษาด้วยตนเอง ให้เพียงการปฐมพยาบาลที่จำเป็นอย่างถูกต้อง แล้วนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลทันที



วัตถุประสงค์ของการปฐมพยาบาล
  • เพื่อช่วยชีวิต
  • ลดความรุนแรง ภาวะไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันความพิการ
  • บรรเทาความเจ็บปวดทรมานและช่วยให้กลับสู่สภาพเดิม

         การปฐมพยาบาลที่ดี ผู้ช่วยเหลือควรให้การปฐมพยาบาลอย่างถูกต้อง รวดเร็ว นุ่มนวลและต้องคำนึงถึงสภาพจิตใจของผู้บาดเจ็บ ควรได้รับการปลอบประโลมและให้กำลังใจเพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะได้รับการช่วยเหลือและปลอดภัย

อุปกรณ์ปฐมพยาบาล

  • สำลี
  • ผ้ากอซแผ่นชนิดฆ่าเชื้อ ทำความสะอาด (แอลกอฮอล์)
  • คีมสำหรับบ่งเสี้ยน
  • ผ้าสามเหลี่ยม
  • ผ้ากอซพันแผลขนาดต่างๆ
  • กรรไกรขนาดกลาง
  • เข็มกลัดซ่อนปลาย
  • แก้วล้างตา
  • พลาสเตอร์ม้วน ชิ้น
  • ผ้ายืดพันแก้เคล็ดขัดยอก ( Elsatic bandage)
  • ผ้ากอซชุลพาราฟินสำหรับแผลไฟไหม้

 การปฏิบัติสำหรับกรณีฉุกเฉิน

  • ตั้งสติให้ได้อย่าตกใจ
  • ขอความช่วยเหลือ
  • ปฐมพยาบาลเบื้องต้น
  • ช่วยหายใจ ให้อากาศเข้าปอดสะดวก คลายเสื้อผ้าให้หลวม
  • ห้ามเลือด
  • นอนนิ่งๆ ห่มผ้า คอยสังเกตอาการ จับชีพจรเป็นระยะ
  • ถ้ามีกระดูกหักอย่าเคลื่อนย้าย
  • ห้ามรับประทานสิ่งใด (ถ้าไฟลวกรุนแรงให้จิบน้ำคำเล็กๆ)

 
ยาที่ควรมีไว้ในตู้ยาประจำบ้าน

  • ยาแก้ปวดลดไข้ : ยาเม็ดพาราเซตามอล 500 มก.
  • ยาแก้แพ้,ลดน้ำมูก : ยาเม็ดคลอเฟนิรามีน 4 มก. ,2 มก.
  • ยาแก้ปวดท้องท้องอืด ท้องเฟ้อ : ยาธาตุน้ำแดง ,ยาธาตุน้ำขาว , โซดามิ้นท์ , ขมิ้นชันแคปซูล
  • ยาโรคกระเพาะ : ยาเม็ดอลูมินาเมกนีเซีย , ไตรซิลิเคท
  • ยาแก้ท้องเสีย : ยาน้ำเคาลินเปคติน ผงน้ำตาลเกลือแร่
  • ยาใส่แผล : ทิงเจอร์ใส่แผลสด , ไอโปดีน
  • ยาล้างตา : โบริคโซลูชั่น
  • ยาล้างแผล เช็ดแผล : ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ , แอลกอฮอล์เช็ดแผล
  • ยาทาแก้แพ้แก้คัน : คาลาไมน์
  • ยาทานวด : ขี้ผึ้งปวดบวม , ครีมระกำ , GPO บาล์ม
  • ยาแก้ไอผู้ใหญ่ : ยาแก้ไอน้ำดำ , ยาขับเสมหะ
  • ยาแก้ไอเด็ก : ยาแก้ไอขับเสมหะ , ยาแก้ไอเด็กเล็ก ,
  • ยาระบาย : ยาระบายเม็กนีเซีย , มะขามแขก , ยาเม็ดมะขามแขก
  • ยาสูดดม : เหล้าแอมโมเนีย

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
กระดูกหัก

  • วางอวัยวะส่วนนั้นบนแผ่นไม้หรือหนังสือหนา ๆ
  • ใช้ผ้าพันยึดไม้ให้เคลื่อนไหว
  • ถ้าเป็นปลายแขนหรือมือใช้ผ้าคล้องคอ

 เลือดกำเดาไหล

  • นั่งลง , ก้มศรีษะเล็กน้อย ,บีบจมูกนาน 10 นาที (หายใจทางปาก)
  • วางน้ำแข็งหรือผ้าเย็น ๆบนสันจมูก หน้าผาก ใต้ขากรรไกร
  • ถ้าไม่หยุด รีบไปพบแพทย์

กินยาผิด หรือกินยาพิษ
         ถ้าผู้ป่วยยังรู้สึกตัวดี
      •  พยายามใช้นิ้วล้วงคอ ให้อาเจียนซ้ำๆ
      •  ดื่มนมหรือน้ำเย็น 4-5 แก้ว หรือกลืนไข่ดิบ 5-10 ฟอง จะช่วยให้พิษยาถูกดูดซึมได้น้อยลง
      •   รีบพาไปหาหมอ พร้อมกับนำยาที่กินไปด้วย
      •  ถ้าผู้ป่วยหมดสติ ให้ปฐมพยาบาลแบบอาการหมดสติ ห้ามกรอกยาหรือให้กินอะไรทั้งสิ้น, แล้วรีบพาไปหาหมอ พร้อมกับนำยาที่กินไปด้วย

ไฟฟ้าช็อต

  • รีบปิดสวิตซ์ไฟทันที
  • ถ้าไม่สามารถปิดสวิทช์ไฟได้ ห้ามใช้มือจับต้องคนที่กำลังถูกไฟช็อตแล้วให้นำสิ่งที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น ไม้กวาด ,เก้าฮีไม้ เขี่ยออกจากสายไฟ หรือเขี่ยสายไฟออกจากตัวผู้บาดเจ็บ
  • เมื่อผู้ป่วยหลุดออกมาแล้ว รีบปฐมพยาบาล ถ้าหยุดหายใจ ให้ทำการเป่าปากช่วยหายใจ ถ้าคลำชีพจรไม่ได้ ให้นวดหัวใจด้วย แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลด้วย

ไฟไหม้ ,น้ำร้อนลวก

  • ฉีกหรือตัดเสื้อผ้าบริเวณที่ถูกน้ำร้อนลวกออก
  • เสื้อผ้าที่ไหม้ไฟและดับแล้ว ถ้าติดที่แผล ไม่ต้องดึงออก
  • ถอดเครื่องประดับที่รัดอยู่ เช่นแหวน, เข็มขัด ,นาฬิกา ,รองเท้า ,(เพราะอาจจะบวมทำให้ถอดยาก)
  • ทำให้บริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวกเย็นลงโดยเร็วที่สุด(ทำอย่างน้อย 10 นาที )
  • ใช้ผ้าก็อซปราศจากเชื้อปิดแผล กรณีแผลใหญ่ ใช้ผ้าปิดพันด้วยผ้ายืดหลวม ๆ

 สุนัขกัด

  • ถ้าเลือดออก ห้ามเลือนทันที (ด้วยผ้าก็อซหรือบีบแผล)
  • ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด ปิดด้วยผ้าก็อซสะอาด
  • รีบไปพบแพทย์ เพื่อฉีดวัคซีน

งูกัด

  • ดูรอยแผล ถ้าเป็นงูพิษจะมีรอยเขี้ยว
  • ใช้เชือกรัดหรือยาง หรือเข็มขัดรัดเหนือแผลให้แน่นพอควร
  • ให้นอนนิ่ง ๆ คอยปลอบใจ
  • ห้ามดื่มสุรา ,ยาดองเหล้า ,ยากล่อมประสาท
  • ถ้าอยุดหายใจให้ช่วยหายใจทันที
  • ควรนำงูไปพบแพทย์ด้วย

แมลงต่อย

  • ถ้าถูกต่อยหายตัว หรือต่อยบริเวณหน้า ให้รีบไปพบแพทย์
  • พยายามถอนเหล็กไน(โดยใช้หลอดกาแฟเล็ก ๆ แข็ง ๆ หรือปากกาครอบแล้วกดให้เหล็กในโผล่ แล้วดึงเหล็กไนออก)
  • ใช้ยาแก้แพ้ทา หรือราดด้วยน้ำโซดา หรือประคบด้วยน้ำแข็ง (ปกติอาการบวมจะลดลงใน 1 วันถ้าไม่ลดให้พบแพทย์)
  • ถ้ามีอาการปวด กินยาแก้ปวด (พาราเซตามอล)

ลมพิษ
สาเหตุ          โดนสารที่แพ้ ,พืช ,สารเคมี, แพ้อาหารทะเล ,เหล้า ,เบียร์ ,ละอองต่าง ๆ
การปฐมพยาบาล

  • ทายาแก้ผดผื่นคัน ,คาลาไมน์ ,เพรดนิโซโลนครีม , เบตาเมทธาโซนครีม
  • กินยาแก้แพ้ คลอเฟนนิรามีน ขนาด 4 มก. 1 เม็ด
  • หาสาเหตุที่แพ้
  • ถ้าผื่นไม่ยุบลง และเพิ่มมากขึ้นให้รีบไปพบแพทย์

เป็นลม

  • ห้ามคนมุงดู พาเข้าที่ร่มในให้อยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • คลายเสื้อผ้าออกให้หลวม
  • จัดให้นอนตะแคงหน้าไปข้างใดข้างหนึ่งเพื่อป้องกันในเรื่องทางเดินหายใจอุดตัน โดยเฉพาะลิ้นของผู้ป่วยมักจะตกไปทางด้านหลังของลำคอ ทำให้หายใจไม่ออก
  • ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดหน้าผากมือ และเท้า
  • ถ้าอาการไม่ดีขึ้น รีบนำส่งโรงพยาบาล

ท้องเดิน ,ท้องร่วง ,ท้องเสีย
ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่

  • งดอาหารรสจัด ,และย่อยยาก เลือกกินอาหารเหลวกินจนกว่าอาการจะดีขึ้น
  • ดื่มน้ำเกลือแร่หรือผสมเอง (เกลือ 1/2 ช้อนชา+น้ำ 1 ขวดแม่โขง)
  • ดื่มน้ำชาแก่ ๆ
  • ถ้าถ่ายรุนแรง มีอาเจียน อ่อนเพลียมาก หน้ามืดเป็นลม และอาการไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมงให้รีบไปพบแพทย์

ในเด็กเล็ก เด็กทารก

  • งดนมและอาหาร ประมาณ 2-4 ชั่วโมง ดื่มน้ำเกลือแร่ (ทารกใช้เกลือ 1/2ช้อน+น้ำ 1ขวดแม่โขง)
  • ถ้าเด็กหิวมากให้นมที่ชงจาง ๆ ทีละน้อย
  • ถ้าถ่ายท้องรุนแรง ,อาเจียน ,ดื่มนมหรือน้ำไม่ได้ (ซึม ,ตาโบ๋ ,กระหม่อมบุ๋ม ,หายใจหอบแรง ,)และไม่ดีขึ้นใน 24 ชั่วโมงให้ไปพบแพทย์โดยด่วน


ก้างติดคอ

  • กลืนก้อนข้าวสุก หรือขนมปังนิ่ม ๆ
  • ถ้ายังไม่หลุด กลืนน้ำส้มสายชูเจือจางเพื่อให้ก้างอ่อนลง
  • ถ้าไม่หลุด ควรไปพบแพทย์


ของเข้าหู

  • ตะแคงศีรษะ หันหูข้างที่สิ่งแปลกปลอมเข้าลง ตบศีรษะด้านบนเบาๆ ให้ของหล่นออกมา
  • ถ้าไม่ออก หยอดน้ำมันพืช 3-4 หยด เข้าในหูข้างนั้น แล้วทำข้อ 1 ซ้ำ
  • ถ้าไม่ออก ห้ามแคะ เพราะของจะยิ่งเข้าลึก, ควรรีบไปหาหมอ

 ของเข้าจมูก

       • บีบรูจมูกที่ไม่มีของอยู่ แล้วสั่งข้างที่มีของอยู่แรงๆ ไม่ควรแคะ เพราะจะดันลึกเข้าไปอีก ถ้าไม่ออก ควรรีบไปหาหมอ

ชัก

      • จับนอนตะแคงคว่ำ (ดังรูปในเรื่องจมน้ำ)
      • ใช้ด้ามช้อนพันผ้า ค่อยๆ สอดเข้าไปในปากระหว่างฟันกรามข้างใดข้างหนึ่งเพื่อป้องกันการกัดลิ้น (ห้ามงัดปากขณะชัก เพราะจะทำให้ฟันหัก และเกิดอันตรายได้)
      • ห้ามกรอกยาขณะชัก (นอกจากหยุดชักหรือมีสติดี และกลืนได้แล้ว)เพราะอาจทำให้สำลัก และทำให้ปอดบวมได้
      • ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือไม่เคยเป็นมากก่อน ควรรีบไปหาหมอโดยด่วน
      • ถ้าอาการดีขึ้น และมียากันชักกินอยู่แล้ว ควรรีบปรึกษาหมอเรื่องการปรับยาใหม่ ไม่ควรเพิ่มยาเอง.

องร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 147
ม.5 ต.ร่อนทอง อ.บางสะพาน จว.ประจวบคีรีขันธ์  77230 โทร 032-697373
   /   bpp1470@Gmail.com